Clover Power Plant (CV)

Phrae Province

Clover Power Plant (CV)

ชื่อภาษาไทย
บริษัท โคลเวอร์ เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน)
ชื่อภาษาอังกฤษ
Clover Power Public Company Limited
Location
Phrae
Operation
By CV
Install Capacity
9.40 MW
Status
COD
PPA (MW)
ตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
8.00 MW
 
ตามสัดส่วนการถือหุ้น
8.00 MW
Selling Scheme
FiT+FiT Premium
COD date
5 February 2016
วันที่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
8 August 2013
วันที่แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน
18 March 2021

โรงไฟฟ้าชีวมวล CV เป็นโรงไฟฟ้าชีวมวลโรงแรกของกลุ่มบริษัทฯ ที่ได้รับการออกแบบให้สามารถใช้เชื้อเพลิงที่เป็นเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรได้หลากหลายชนิด โดยเชื้อเพลิงหลักที่นำมาใช้ในโรงไฟฟ้าชีวมวล CV ได้แก่ เศษไม้ไผ่สับจากอุตสาหกรรมแปรรูปไม้ไผ่ในบริเวณใกล้เคียง ใบข้าวโพดและต้นข้าวโพดหลังการเก็บเกี่ยว เป็นต้น โดยใช้กรรมวิธีการผลิตแบบเผาไหม้โดยตรง

เทคโนโลยีที่ใช้ผลิตไฟฟ้า

โรงไฟฟ้าชีวมวล CPL จังหวัดพิษณุโลก เป็นโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบเผาไหม้โดยตรงจากเศษวัสดุชีวมวลเหลือใช้ ซึ่งเป็นการนำชีวมวลมาเผาเป็นพลังงานความร้อนภายในหม้อน้ำ โดยค่าความร้อนที่ได้จะขึ้นอยู่กับค่าความร้อนของชีวมวลชนิดนั้น ๆ ทั้งนี้ ความร้อนที่ได้จากการเผาสามารถนำไปใช้ในการผลิตไอน้ำที่มีอุณหภูมิและความดันสูง และไอน้ำนี้จะถูกนำไปขับกังหันไอน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าต่อไป

ข้อดีของโรงไฟฟ้าชีวมวล

  • ต้นทุนเชื้อเพลิงที่นำมาใช้ในโรงไฟฟ้าชีวมวลมีราคาค่อนข้างถูก เนื่องจากว่าเป็นวัตถุดิบจากเศษหรือของเหลือใช้ทางการเกษตร ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำ
  • หากเทียบกับการลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลกับโรงงานไฟฟ้าประเภทอื่น การสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลจะมีต้นทุนในการก่อสร้างที่ต่ำกว่า
  • การมีโรงไฟฟ้าชีวมวลเป็นการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจของไทยให้เจริญเติบโตมากยิ่งขึ้น เนื่องจากสามารถใช้ผลผลิตส่วนที่เหลือจากการเกษตรมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า ลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงต่างประเทศ
  • ช่วยลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นได้ รวมถึงยังมีการนำเศษขยะหรือของเหลือใช้นี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสามารถกระจายรายได้ไปสู่ประชากรอย่างดีโดยไม่ทำลายวิถีชีวิตที่ยั่งยืนของชุมชน
  • เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดผลกระทบ มลภาวะ และมลพิษที่ปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมอันเกิดจากกระบวนการแปรรูปเชื้อเพลิงฟอสซิล และช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน

Back