Clover Phichit (CPX) Waste-to-energy Power Plant

Phichit Province

โรงไฟฟ้าขยะ บริษัท โคลเวอร์ เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน)

ปัจจุบัน การผลิตพลังงานจากขยะโดยโรงไฟฟ้าขยะเพื่อใช้ทดแทนแหล่งพลังงานเดิมที่ใช้แล้วหมดไปอย่างพลังงานจากฟอสซิลกำลังได้รับความสนใจมากขึ้น เพราะโรงไฟฟ้าขยะนี้ได้กลายเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการแก้ปัญหาด้านพลังงานที่ยั่งยืน อีกทั้งช่วยแก้ปัญหาเรื่องการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ซึ่งเป็นปัญหาของประเทศที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น

บริษัท โคลเวอร์ เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้นำด้านธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ธุรกิจเชื้อเพลิง และธุรกิจด้านวิศวกรรมได้ตระหนักถึงการใช้พลังงานทดแทนเพื่อสร้างความสมดุลให้กับการดำรงชีวิตของมนุษย์ สิ่งแวดล้อม และธรรมชาติร่วมกันทั้งในวันนี้และอนาคตข้างหน้า โดยมีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญในธุรกิจพลังงานหมุนเวียน โรงไฟฟ้าขยะ และโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนมากกว่า 16 ปี พร้อมขับเคลื่อนการขยายธุรกิจด้านโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนและโรงไฟฟ้าขยะทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศเพื่อนำบริษัทฯ ก้าวสู่การเป็นบริษัทพลังงานชั้นนำ ส่งมอบคุณค่าจากพลังงานหมุนเวียนเพื่อการใช้ชีวิตของมนุษย์และสังคมโลกอย่างสมดุลและยั่งยืนในอนาคตผ่านโรงไฟฟ้าขยะประสิทธิภาพสูง ใช้เชื้อเพลิงเหลือทิ้งต้นทุนต่ำของเรา

Clover Phichit (CPX) Waste-to-energy Power Plant

Location
Phichit
Operation
By Company or CPX
Install Capacity
2.00 MW
Status
COD
PPA (MW)
1.88 MW
Selling Scheme
FiT + FiT Premium
COD date
30 October 2020

โครงการโรงไฟฟ้าขยะ CPX ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือตอนล่าง ตำบลหนองหลุม อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร เป็นโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมาก (Very Small Power Producer: VSPP) ที่ใช้เทคโนโลยีระบบที่มีการจัดการขยะเบื้องต้น (Burning of Preheated and Homogenized Waste) จากประเทศเบลเยี่ยม ซึ่งใช้เชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derived Fuel: RDF) จากการคัดแยกและแปรรูปเศษขยะเหลือใช้จากกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมมาป้อนเข้าสู่เตาเผาแบบขั้นบันได (Step Grate Stoker) ที่มีการป้อนเชื้อเพลิงทางด้านบน (Overfeed Stoker) ช่วยให้สามารถบริหารจัดการต้นทุนการผลิตและการขนส่งเชื้อเพลิงเข้าโรงไฟฟ้าขยะอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้กังหันไอน้ำแบบควบแน่น (Extraction Condensing Turbine) ในการขับเคลื่อนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเข้าระบบภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) กับ กฟภ. ขนาดกำลังการผลิตติดตั้งและปริมาณพลังงานไฟฟ้าเสนอขายตามสัญญา 2.00/1.88 เมกะวัตต์ตามลำดับภายใต้ระบบการรับซื้อไฟฟ้าแบบ FiT ระยะเวลาเสนอขายตามสัญญา 20 ปี เริ่มจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์แล้วเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2563

เทคโนโลยีที่ใช้ผลิตไฟฟ้า

เทคโนโลยีที่ใช้ในโรงไฟฟ้าขยะเพื่อเปลี่ยนสภาพขยะเป็นพลังงานทดแทนในโรงไฟฟ้าขยะ โคลเวอร์ พิจิตร ได้แก่ เทคโนโลยีเตาเผาขยะ (Incineration) ซึ่งเป็นการเผาขยะในเตาที่มีการออกแบบพิเศษเพื่อให้เข้ากับคุณสมบัติของขยะที่เป็นวัตถุดิบตั้งต้น กล่าวคือ มีอัตราความชื้นสูงและมีค่าความร้อนที่แปรผันได้ โดยภายในโรงไฟฟ้าขยะ CPX แห่งนี้จะใช้ระบบที่มีการจัดการเบื้องต้นจากประเทศเบลเยี่ยม ซึ่งเป็นระบบที่มีการจัดการขยะเบื้องต้น เช่น ก่อนทำการเผาต้องมีระบบเพื่อการลดขนาด การบด การตัด และการคัดแยก ร่วมกับระบบการผลิตเชื้อเพลิงจากขยะ ซึ่งเป็นการปรับปรุงและแปลงสภาพของขยะมูลฝอยให้เป็นเชื้อเพลิงแข็งที่มีคุณสมบัติในด้านค่าความร้อน (Heating Value) ความชื้น ขนาด และความหนาแน่น มีคุณสมบัติเหมาะสมในการใช้เป็นเชื้อเพลิงป้อนหม้อไอน้ำเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานความร้อน และมีองค์ประกอบทั้งทางเคมีและกายภาพสม่ำเสมอ ส่วนระบบที่ใช้ในห้องเผาไหม้ในโรงไฟฟ้าขยะแห่งนี้ ได้แก่ เตาเผาแบบขั้นบันไดหรือเตาเผาที่มีโครงสร้างคล้ายกับขั้นบันได ซึ่งเชื้อเพลิงจะถูกผลักลงทีละขั้นทำให้มีโอกาสพลิกไปมา เพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้ได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งรองรับการใช้เชื้อเพลิงหลายชนิด นอกจากนี้ ในระหว่างกระบวนการเผาไหม้ในโรงไฟฟ้าขยะ CPX ยังมีระบบการควบคุมการปฏิบัติงานอย่างเข้มงวดทุกขั้นตอนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดมลพิษและการรบกวนต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ก๊าซพิษ เขม่า กลิ่น เป็นต้น โดยก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้จะได้รับการกำจัดเขม่าและอนุภาคตามที่กฎหมายควบคุมก่อนที่จะส่งออกสู่บรรยากาศ ส่วนขี้เถ้าที่เหลือจากการเผาไหม้ซึ่งมีปริมาตรราว 10% และมีน้ำหนักราว 25-30% ของขยะที่ส่งเข้าเตาเผาจะนำไปใช้เป็นวัสดุปูพื้นสำหรับการสร้างถนน และขี้เถ้าที่มีส่วนประกอบของโลหะจะมีการนำกลับมาใช้ใหม่ และที่สำคัญ คือ โรงไฟฟ้าขยะ CPX สามารถที่จะนำพลังงานความร้อนที่ได้จากการเผาขยะมาใช้ในการผลิตไอน้ำ หรือทำน้ำร้อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าได้อีกด้วย


Back