โรงไฟฟ้าชีวมวล โคลเวอร์ พิษณุโลก (CPL)
จังหวัดพิษณุโลก
โรงไฟฟ้าชีวมวล โคลเวอร์ พิษณุโลก (CPL)
บริษัท โคลเวอร์ พิษณุโลก จำกัด
Clover Phitsanulok Company Limited
อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
บริษัทฯ หรือ CV
4.90 เมกะวัตต์
ดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว
ตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
4.50 เมกะวัตต์
ตามสัดส่วนการถือหุ้น
4.50 เมกะวัตต์
FiT + FiT Premium
23 ธันวาคม 2554
0545554000334
9 สิงหาคม 2561
โครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล CPL เป็นโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน VSPP ที่ใช้เทคโนโลยีกระบวนการผลิตแบบเผาไหม้โดยตรง (Direct Combustion) โดยการนำเศษวัสดุเหลือใช้ที่เป็นชีวมวลบริเวณรอบพื้นที่ ได้แก่ เศษไม้สับ ใบอ้อย แกลบ ขี้เลื่อยไม้ และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอื่น ๆ มาเป็นเชื้อเพลิงให้กับกังหันไอน้ำแบบควบแน่นในการขับเคลื่อนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเข้าระบบภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟภ. โดยมีขนาดกำลังการผลิตติดตั้งและปริมาณพลังงานไฟฟ้าเสนอขายตามสัญญา 4.9 และ 4.5 เมกะวัตต์ตามลำดับ สำหรับระบบการรับซื้อไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าชีวมวล CPL จะอยู่ในรูปแบบ FiT กลุ่มพลังงานชีวภาพ ซึ่งเป็นประเภทเทคโนโลยีที่ได้รับการส่งเสริมการรับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบ Feed-in Tariff พิเศษ (“FiT Premium”) เพิ่มเติมจากอัตราการรับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบ FiT ปกติภายใต้ระยะเวลาเสนอขายตามสัญญา 20 ปี
เทคโนโลยีที่ใช้ผลิตไฟฟ้า
โรงไฟฟ้าชีวมวล CPL จังหวัดพิษณุโลก เป็นโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบเผาไหม้โดยตรง (Direct Combustion) จากเศษวัสดุชีวมวลเหลือใช้ ซึ่งเป็นการนำชีวมวลมาเผาเป็นพลังงานความร้อนภายในหม้อน้ำ โดยค่าความร้อนที่ได้จะขึ้นอยู่กับค่าความร้อนของชีวมวลชนิดนั้น ๆ ทั้งนี้ ความร้อนที่ได้จากการเผาสามารถนำไปใช้ในการผลิตไอน้ำที่มีอุณหภูมิและความดันสูง และไอน้ำนี้จะถูกนำไปขับกังหันไอน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าต่อไป
โครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลอื่น ๆ ของ บริษัท โคลเวอร์ เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน)
นอกจากโรงไฟฟ้าชีวมวล CPL จังหวัดพิษณุโลกแล้ว บริษัทฯ ยังประกอบธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพื่อขายไฟฟ้า โดยมุ่งเน้นพัฒนาและกระจายการลงทุนในโรงไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยีจากพลังงานหมุนเวียนหลากหลายประเภทโดย ณ เดือนมิถุนายน 2565 กลุ่มบริษัทฯ มีโครงการโรงไฟฟ้าที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว จำนวน 4 โครงการ ขนาดกำลังการผลิตติดตั้งรวม 23.66 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลจำนวน 2 โครงการ โครงการโรงไฟฟ้าขยะ จำนวน 1 โครงการ และโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม จำนวน 1 โครงการ และโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาและก่อสร้างอีกหลายโครงการ
โครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง
- โครงการโรงคัดแยกและแปรรูปขยะมูลฝอยเพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิงขยะ (RDF) โคลเวอร์ รีไซเคิ้ล อ.วชิรบารมี จ.พิจิตร
- โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (ชีวมวล) ซีวี กรีน ลำปาง อ.เกาะคา จ.ลำปาง
- โครงการโรงไฟฟ้าชุนชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (ชีวมวล) ซีวี กรีน ศรีบุญเรือง อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู
- โรงไฟฟ้าชุนชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (ชีวมวล) ซีวี กรีน เนินปอ อ.สามง่าม จ.พิจิตร
ข้อดีของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน
- ต้นทุนเชื้อเพลิงที่นำมาใช้ในโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนมีราคาค่อนข้างถูก ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำ
- หากเทียบกับการลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนกับโรงงานไฟฟ้าประเภทอื่น การสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจะมีต้นทุนในการก่อสร้างที่ต่ำกว่า
- การมีโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเป็นการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจของไทยให้เจริญเติบโตมากยิ่งขึ้น เนื่องจากสามารถใช้ผลผลิตส่วนที่เหลือจากการเกษตรมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า ลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงต่างประเทศ
- ช่วยลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นได้ รวมถึงยังมีการนำเศษขยะหรือของเหลือใช้นี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสามารถกระจายรายได้ไปสู่ประชากรอย่างดีโดยไม่ทำลายวิถีชีวิตที่ยั่งยืนของชุมชน
- เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดผลกระทบ มลภาวะ และมลพิษที่ปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมอันเกิดจากกระบวนการแปรรูปเชื้อเพลิงฟอสซิล และช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
พลังงานหมุนเวียนกับประเทศไทยในปัจจุบัน
พลังงานหลักที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ได้มาจากแหล่งพลังงานที่ใช้แล้วหมดไปแทบทั้งสิ้น อีกทั้งความต้องการในการใช้พลังงาน นับวันก็ยิ่งมีมากขึ้น แต่ปริมาณของพลังงานเหล่านั้นกลับมีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งสามารถหมดไปได้ไม่วันก็วันหนึ่งในอนาคต ดังนั้น พลังงานหมุนเวียนจึงมีความสำคัญในแง่ของการเป็นแหล่งพลังงานทดแทนที่จะช่วยรองรับความต้องการและความจำเป็นในการใช้งานที่จะเข้ามาทดแทนพลังงานจากเชื้อเพลิงในรูปแบบเก่า อีกทั้งยังช่วยป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นและบรรเทาผลกระทบจากปัญหามลภาวะต่าง ๆ อาทิ ภาวะโลกร้อนและภาวะเรือนกระจก อันเกิดจากการใช้พลังงานในปัจจุบัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่ของทุกชีวิตบนโลกเป็นวงกว้าง พลังงานหมุนเวียนจึงถือเป็นพลังงานแห่งยุคอนาคตที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศให้หมุนต่อไปได้อย่างยั่งยืน
ย้อนกลับ